วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อุปกรณ์เครือข่ายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

บริดจ์ ไม่สามารถถ่ายรูปได้ เนื่องจากห้องปิด บริดจ์นั้นจะทำงานแบบไลออฟไซต์ คือ เป็นการทำงานแบบมองเห็นกัน เช่น บริดจ์ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เชื่อมต่อกับหอพัก

Network Connection Details


Physical Address คือ เลขที่ของการ์ดแลนที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง
IPV4 IP Address คือ IP Address version4 (IPv4)  มีขนาด 32 bit ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 bitClassful Addressingเริ่มแรกเลย IPv4 มีการแบ่ง IP Address ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Network ID และ Host ID ซึ่งการแบ่งเป็น 2 ส่วนนี้ (Two-level addressing hierarchy) จะมีชื่อเรียกว่า Classful addressing อย่างไรก็ตามการนำ IP Address แบ่งเป็น2 ส่วนนี้ ทำให้การใช้งาน IP Address ไม่มีประสิทธิภาพ Network ID กับ Host ID คือ Network ID คือ Network ID ของ IP Address จะเป็นส่วนที่ระบุว่าอุปกรณ์อยู่ในโครงข่ายใด และ Network ID จะเป็นส่วนที่ Router ใช้สำหรับหาเส้นทาง (เช่น 192.168.1 เขียนเต็มรูปแบบคือ 192.168.1.0)Host ID คือ Host ID ของ IP Address จะเป็นส่วนที่ระบุว่าอุปกรณ์อยู่ในตำแหน่งใดของ Network
IPV4 Subnet Mask เป็น Parameter อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข IP Address หน้าทีของ Subnet mask ก็คือ การช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น Network Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address ดังนั้น ท่านจะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เราจำเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้งLease Obtained  เป็นการเอา IP Address มาจาก DHCP Server
Lease Expires  เวลาที่ IP Address ที่ได้มาจะหมดอายุ
Default Gateway คือ ชื่อที่อยู่ IP ของโหนดที่ช่วยให้เข้าถึงเครือข่าย
DHCP server มีหน้าที่แจก IP ในเครือข่ายไม่ให้ซ้ำ เป็นการลดความซ้ำซ้อน เมื่อเครื่องลูกเริ่ม boot ก็จะขอ IP address, Subnet mark, หมายเลข DNS และ Default gateway
    ขั้นตอนการเชื่อมต่อของเครื่องลูกกับ DHCP server
    1. เครื่องลูกค้นหาเครื่อง DHCP server ในเครือข่าย โดยส่ง DHCP discover เพื่อร้องขอ IP address
    2. DHCP server จะค้นหา IP ที่ว่างอยู่ในฐานข้อมูล แล้วส่ง DHCP offer กลังไปให้เครื่องลูก
    3. เมื่อเครื่องลูกได้รับ IP ก็จะส่งสัญญาณตอบกลับ DHCP Request ให้เครื่องแม่ทราบ
    4. DHCP server ส่งสัญญาณ DHCP Ack กลับไปให้เครื่องลูก เพื่อแจ้งว่าเริ่มใช้งานได้
Domain Name Server (DNS) คือสิ่งที่นำมาอ้างถึงหมายเลขเครื่อง หรือ หมายเลข IP Address เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ DNS จะทำหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์ คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใคร คน ๆ นั้นก็จะต้องเปิดสมุดโทรศัพท์เพื่อค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของคนที่ต้องการจะติดต่อคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการจะสื่อสาร กับ DNS server ซึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าว ในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้ Host ดังกล่าวทราบ
WINS server คือ NT server หรือสูงกว่าที่รัน WINS server service ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่ายจะลงทะเบียนชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ กับ WINS server โดยข้อมูลที่จะถูกเก็บไว้ที่ WINS server คือ ชื่อเครื่องและ IP address
NetBIOS ถูกออกแบบมาเพื่อเป็น protocol ที่เป็นตัวเชื่อม (interface) ระหว่างระบบปฏิบัติการกับฮาร์ดแวร์ เพื่อให้ application สามารถสื่อสารกับเครือข่ายได้โดยเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ทั้งนี้ application จะสามารถเข้าถึงเรเยอร์สูงสุดของ OSI model ได้เท่านั้น ซึ่งทำให้ application ที่สร้างขึ้นมาสามารถทำงานได้ในเครือข่ายที่มี network environment ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ NetBIOS จะทำหน้าที่ขนส่งข้อมูลไปยัง application
Link – local Ipv6 Address เป็น address ที่ unique บนแต่ละลิงค์เท่านั้น ปกติแล้ว link local address จะถูก assign อัตโนมัติ ใช้ Prefix fe80::/64 โดยที่ 64 บิตหลังจะมาจาก MAC address    ของแลนการ์ดนั่นเอง


วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่งงาน 2553-11-10

Network Layer

The Network Layer is Layer 3 of the seven-layer OSI model of computer networking.
The Network Layer is responsible for routing packets delivery including routing through intermediate routers, whereas the Data Link Layer is responsible for Media Access Control, Flow Control and Error Checking.
The Network Layer provides the functional and procedural means of transferring variable length data sequences from a source to a destination host via one or more networks while maintaining the quality of service functions.
Functions of the Network Layer include:
For example, IP is connectionless, in that a frame can travel from a sender to a recipient without the recipient having to send an acknowledgement. Connection-oriented protocols exist higher at other layers of that model.
  • Host addressing
Every host in the network needs to have a unique address which determines where it is. This address will normally be assigned from a hierarchical system, so you can be "Fred Murphy" to people in your house, "Fred Murphy, Main Street 1" to Dubliners, or "Fred Murphy, Main Street 1, Dublin" to people in Ireland, or "Fred Murphy, Main Street 1, Dublin, Ireland" to people anywhere in the world. On the Internet, addresses are known as Internet Protocol (IP) addresses.
  • Message forwarding
Since many networks are partitioned into subnetworks and connect to other networks for wide-area communications, networks use specialized hosts, called gateways or routers to forward packets between networks. This is also of interest to mobile applications, where a user may move from one location to another, and it must be arranged that his messages follow him. Version 4 of the Internet Protocol (IPv4) was not designed with this feature in mind, although mobility extensions exist. IPv6 has a better designed solution.
Within the service layering semantics of the OSI network architecture the Network Layer responds to service requests from the Transport Layer and issues service requests to the Data Link Layer.

 

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่งงาน 2553-11-03

อุปกรณ์ทางเครือข่าย


บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้ ส่วนหลักการทำงานของบริดจ์จะพิจารณาจากหมายเลขของเครื่องหรือ Media Access Control address (MAC address) ซึ่งเป็นที่อยู่ที่ฝังมาในฮาร์ดแวร์ของการ์ด LAN แต่ละการ์ด ซึ่งจะไม่ซ้ำกัน แต่ละหมายเลขจะมีเพียงการ์ดเดียวในโลก

บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ แบบ Data circuit terminating equipment (DCE )
            DCE  คือ อุปกรณ์ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อ ทำให้การเชื่อมต่อยังดำเนินต่อไป และยุติการเชื่อมต่อ นอกจากนียังใช้เปลี่ยนลักษณะของสัญญาณและสร้างรหัสสัญญาณ ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่าง DTE (data terminal equipment) และ data circuit โดย DCE อาจเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์หรือไม่ก็ได้





วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ:  นางสาวนทีทิพย์     นามสกุล:  เสียงใส     ชื่อเล่น:  เปีย
รหัสนักศึกษา 51152792143   ห้อง BC4
เพศ:    หญิง        หมู่เลือด:  O
ส่วนสูง:   150   เซนติเมตร       น้ำหนัก:    45   กิโลกรัม
สัญชาติ:      ไทย                     ศาสนา:  พุทธ
สถานภาพสมรส:  โสด
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์:  kavalovely@hotmail.com    

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บุคลิกภาพสไตล์ BiZcom


บุคลิกภาพ คือ ภาพของแต่ละบุคคลที่มีในด้านการแต่งกาย ท่วงที กริยา การแสดงออก เพื่อที่ทำให้ผู้เห็นเกิดความประทับใจ น่าคบหา น่าชื่นชม

บุคลิกภาพสไตล์ BiZcom ที่พึ่งประสงค์นั้นจะต้องมีลักษณะ ดังนี้
1. แต่งกายเรียบร้อย ให้เหมาะกับกาลเทศะ
2. กริยา การแสดงออก ควรสุภาพ เหมาะกับสถานการณ์นั้นๆ ที่ประสบอยู่
3. วิธีการพูด ควรพูดไพเราะเพราะจะทำให้คนที่ฟัง จะทำให้ตั้งใจฟัง และจะทำให้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น  ไม่ควรพูดคำหยาบเพราะคำหยาบจะเป็นสิงที่ทำให้คนอื่น มองเราในแง่ลบ
4. การแสดงออกทางอารมณ์ ควรแสดงออกโดยที่เป็นลักษณะสมเหตุสมผลกับความเป็นจริง และก็ต้องเหมาะกับสถานการณ์
5. การสร้างความสัมพันธ์ ทางสังคม โดยจะเน้นไปในด้านสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกัผู้อื่น เพราะคนเราเกิดมาไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้
6. การเดิน โดยจะเดินตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง เพื่อจะทำให้เราดูสง่า และการเดินต้องต้องระวังไม่ให้เสียงดังมากเกินไป
7. การมอง เมื่อมองใครควรใช้สายตาสุภาพเรียบร้อย  

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สิ่งที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ครั้งที่ 1  ประวัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
วันที่ 23 มิถุนายน 2553 บรรยายโดย
 อาจารย์ สาระ มีผลกิจ
การที่ได้เข้าฟังบรรยาย เกี่ยวกับประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตในครั้งนี้ทำให้ได้ความรู้ ที่มาเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น เช่น ได้รู้ถึง เมื่อก่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเป็นโรงเรียนมาก่อน ซึ่งจะรับแต่ผู้หญิง  และได้ความรู้ในด้านประวัติศาสตร์ไทยด้วย การฟังบรรยายจึงถือได้ว่าสามารถให้ความรู้ได้เป็นอย่างดี สิ่งที่ได้ไปฟังมานั้นล้วนแต่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพราะจะช่วยให้เรารักสถาบันการศึกษาเพิ่มมากขึ้น  รู้สำนึกว่าสิ่งไหนที่ควรทำ และไม่ควรทำ
ครั้งที่ 2 เรื่อง การพัฒนาบุคลิกภาพ และธนาคารความดี
วันที่ 14 กรกฎาคม 2553 บรรยายโดย ผศ. โรจนา ศุขพันธ์
การเข้าร่วมฟังบรรยายในครั้งนี้ จะได้ความรู้เรื่อง การพัฒนาบุคลิกภาพนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง ทั้งในเรื่องการแต่งกาย  มารยาททางสังคม ที่เหมาะสมกับกาลเทศะ  ในเรื่องการแต่งกายนั้นก็ต้องดูตั้งแต่เสื้อผ้าจนถึงเครื่องประดับ ควรจะเหมาะสมกับกาลเทศะเหมาะสมกับสถานที่หรือไม่ และบุคลิกภาพนั้นก็สำคัญเพื่อที่จะช่วยให้คนอื่นที่มองเราในแง่ดี มีมารยาททางสังคม เหมาะสมกับการแต่งกาย จึงถือได้ว่าบุคลิกภาพนั้นรวมถึงการแต่งตัวลักษณะทาทางที่เหมาะด้วย
ครั้งที่ 3 เรื่อง การบริหารเงินส่วนบุคคล
วันที่ 28 กรกฎาคม 2553 บรรยายโดย คุณ กษม ภูติจินดานันท์
การเข้าร่วมฟังบรรยายเกี่ยวกับบริหารเงินส่วนบุคคล จะได้ความรู้ในด้านเรื่องการจัดการเรื่องการเงินอาจจะในแต่ละวันว่าเราเอาเงินไปทำอะไรบ้าง และในแต่ละวันมีเงินเก็บ เงินออมบ้างไหม และสิ่งที่ได้ก็ทำให้รู้ถึงว่าการเงินคืออะไร ส่วนบุคคลคืออะไร อาทิเช่น การเงิน คือ พระเจ้า,กระดาษ,ตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ส่วนบุคคล คือ ตัวเรา,ครอบครัว,องค์กร  และได้ความรู้ในเรื่องการตั้งเป้าหมายในชีวิตว่าเราควรมีเป้าหมายอย่างไร เพื่อใคร และจะทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้สำเร็จได้อย่างไร และในเรื่องของหนี้สินควรจะจัดการอย่างไรเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นมา
ครั้งที่ 4 เรื่อง ภาษาไทย
วันที่ 25 สิงหาคม 2553 บรรยายโดย อาจารย์ ปรีชา ร่วงลือ
เข้าไปฟังบรรยายในครั้งนี้ได้ความรู้ในเรื่อง ภาษาไทย ว่าเขียนอย่างไรให้ถูกต้อง และในเรื่องการดู VTR  ในเรื่องการพูดคุยกับนักเรียนนั้น ก็จะทำให้รู้ว่าครูควรพูดอย่างไรกับนักเรียนที่จะทำให้นักเรียนเชื่อฟัง และเคารพ ปฏิบัติตาม เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับภาษาไทย เพราะเป็นภาษาที่คนไทยควรเขียนได้ อ่านได้ และภาษาไทยก็เป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์และน่าอนุรักษ์ไว้  เป็นแบบอย่างต่อไป
ครั้งที่ 5 เรื่อง จรรยาบรรณวิชาชีพกับธรรมะ
วันที่ 1 กันยายน 2553 บรรยายโดย หลวงปู่พุทธะอิสระ และ คุณมนัส ตั้งสุข
เมื่อเข้าไปฟังบรรยายเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพกับธรรมะ ในครั้งนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งที่ได้ฟังมานั้นจะเกี่ยวกับ การปลูกป่าที่จะทำให้เป็นเสมือนกับการปลูกสามัญสำนึกให้แก่ชีวิต และยังเป็นการทำบุญอีกรูปแบบหนึ่ง และในเรื่องการบวชนั้นเพราะผู้บวชเป็นผู้ให้ การไหว้ เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะเสมือนเป็นวิชามนุษย์  การบริหารจัดการเวลาก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะทำให้รู้ถึงว่าเราควรทำอะไรบ้าง ในแต่ละวัน สิ่งที่เราทำไปนั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ รวมถึงจิตของมนุษย์เรานั้น แบ่งออกเป็น 4 อย่าง คือ รับ จำ คิด รู้ เพราะฉะนั้นการไปฟังบรรยายเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ได้เป็นอย่างดี และจะให้เราสามารถนำไปปรับปรุงใช้ไปในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย